วันพุธที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2552

แนะนำงาน IC

ประวัติความเป็นมา
โรงพยาบาลสกลนคร ได้จัดให้มีงานป้องกันและควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาล ในปี พ.ศ.2536 โดยหัวหน้าพยาบาล นางสมหมาย เริงสำราญ กำหนดให้มี ICN 1 คน รับผิดชอบงานและส่งไปศึกษาต่อด้านการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาล ปริญญาโทคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และจัดให้มีตัวแทนแต่ละหอผู้ป่วยเป็นคณะกรรมการเฝ้าระวังการติดเชื้อในโรงพยาบาล (ICWN)



ปัจจุบันโรงพยาบาลสกลนครจัดให้มีคณะกรรมการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาล โดยโครงสร้างการบริหารการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาล ประกอบด้วยสหสาขาวิชาชีพ ครอบคลุมทั้งสายการรักษาพยาบาล และสายบริหาร
ICN มีทั้งหมด 4 คน จบพยาบาลศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลด้านการควบคุมการติดเชื้อคณะพยาบาลศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 2 คนและจบการพยาบาลเฉพาะทางสาขาการควบคุมโรคติดเชื้อและการพยาบาลผู้ป่วยโรคติดเชื้อ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 1 คน และมอบหมาย ICN (พยาบาลวิชาชีพ) ดูแลและควบคุมกำกับงานจ่ายกลาง 1 คน



ปรัชญา
เราเชื่อว่าการทำงานเป็นทีมและมุ่งมั่นพัฒนางานป้องกันและควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาลสกลนครอย่างต่อเนื่องโดยเน้นความปลอดภัยของผู้ใช้บริการ และการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในเครือข่ายระบบบริการสาธารณสุข


วิสัยทัศน์
งานป้องกันและควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาลสกลนครโรงพยาบาลสกลนคร จะเป็นผู้นำด้านการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาลและ เป็นเลิศในเขต 11




พันธกิจ
1. กำหนดนโยบาย แผนงาน มาตรการ ระเบียบปฏิบัติวิธีการที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาล
2. เฝ้าระวัง และสอบสวนการระบาดของการติดเชื้อในโรงพยาบาล
3. รวบรวม และวิเคราะห์ข้อมูลการเฝ้าระวังการติดเชื้อใน โรงพยาบาล พร้อมทั้งรายงานผลต่อหน่วยงานเกี่ยวข้อง
4. สอบสวนหาสาเหตุของการระบาด ควบคุมการระบาดในโรงพยาบาลอย่างทันท่วงที
5. เฝ้าระวัง และให้การดูแล บุคลากรที่สัมผัสเลือด สารคัดหลั่งในโรงพยาบาล บุคลากรที่เจ็บป่วยด้วยโรคติดเชื้อ เช่น วัณโรค
6. ประสานงานทีมดูแลผู้ป่วย และทีมประสานบริการ ทีมสนับสนุนบริการ ในเรื่องต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับ
พยาบาล
7. พัฒนางานป้องกันและควบคุมการติดเชื้ออย่างต่อเนื่องทั้งในและนอกโรงพยาบาล
8. ให้คำปรึกษา คำแนะนำ และความรู้ในด้านการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาลแก่บุคลากรทั้งในและนอกโรงพยาบาล
9. ดำเนินการวิจัยเพื่อนำผลงานวิจัยมาพัฒนางานด้านการ ป้องกันและควบคุมการติดเชื้อในโรงพยา

เป้าหมาย
· อัตราการติดเชื้อในผู้ป่วยน้อยกว่าร้อยละ 5 ต่อ 1000 วัน
· ประสิทธิภาพของการเฝ้าระวังมากกว่า 80 %
· อัตราการเกิดอุบัติเหตุ และสัมผัสเลือดและสารคัดหลั่งลดลง
· การเจ็บป่วยจากการปฏิบัติงานน้อยกว่า 1
· บุคลากรมีการทำความสะอาดมือถูกต้อง มากกว่า 80%


วัตถุประสงค์ที่ต้องการบรรลุในหนึ่งปีข้างหน้า
1. ระบบการเฝ้าระวังการติดเชื้อในผู้ป่วย Target surveillance ที่มีประสิทธิภาพ
1.1 การลดอัตราการติดเชื้อในหอผู้ป่วยที่มีเสี่ยงสูง ได้แก่หอผู้ป่วยหนักศัลยกรรม หอผู้ป่วยหนัก อายุรกรรม หอผู้ป่วยหนักเด็ก หอผู้ป่วยกึ่งวิกฤตศัลยกรรมระบบประสาท หอผู้ป่วยทารกแรกเกิด
1.2 การลดอัตราการติดเชื้อที่เป็นปัญหาสำคัญ ได้แก่
- การติดเชื้อปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจ
- การติดตามผู้ป่วยหลังผ่าตัด (Post discharge surveillance)
- การติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะ
- การติดเชื้อที่หลอดเลือดดำส่วนปลาย
2. ส่งเสริมให้บุคลากรของโรงพยาบาล มีการล้างมือ และการทำความสะอาดมือ มากกว่า ร้อยละ 80
3. ส่งเสริมสุขภาพบุคลากรให้มีการดูแลสุขภาพ มีการตรวจสุขภาพ มากกว่าร้อยละ 80
4. การจัดระบบขยะ และบำบัดน้ำเสีย มีประสิทธิภาพ มากกว่าร้อยละ 80
5. ส่งเสริมให้ทุกหน่วยงาน ค้นหาปัญหา และหาแนวทางแก้ปัญหา โดยใช้รูปแบบการวิจัยและการสร้างเครือข่าย แลกเปลี่ยนเรียนรู้(COP. VAP)
6. โรคติดเชื้อรุนแรง ได้แก่ MDR และ MRSA ไม่มีการติดเชื้อเพิ่มขึ้น (ระบาด) ได้รับการป้องกันและควบคุมอย่างมีประสิทธิภาพ
7. พัฒนาแนวทางการดูแลผู้ป่วย sepsis

บุคลากร

นายแพทย์บุญมี มีประเสริฐ

นายแพทย์ 7 (ด้านเวชกรรมสาขาอายุรกรรม)

แพทย์ศาสตร์บัณฑิต-ปริญญา คณะแพทย์ศาสตร์

ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล

ประธานคณะกรรมการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อ
ในโรงพยาบาล



นางสาวพงศ์ลดา รักษาขันธ์พยาบาลวิชาชีพ 7
พยาบาลศาสตร์มหาบัณฑิต

สาขาวิชาการพยาบาลด้านการควบคุมการติดเชื้อ

หัวหน้างานป้องกันและควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาล


นางณัฐวิภา บุญเกิดรัมย์

พยาบาลวิชาชีพ 7

ประกาศนียบัตรพยาบาลศาสตร์และผดุงครรภ์ชั้น 1
วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีสระบุรี
ประกาศนียบัตรการพยาบาลเฉพาะทางสาขาการควบคุมโรคติดเชื้อและการพยาบาลผู้ป่วยโรคติดเชื้อ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

พยาบาลป้องกันและควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาล



นางสาวกมงวัลย์ ใครบุตร
พยาบาลวิชาชีพ 7
พยาบาลศาสตร์มหาบัณฑิต
สาขาวิชาการพยาบาลด้านการควบคุมการติดเชื้อ
พยาบาลป้องกันและควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาล




นางพิศมัย กองทรัพย์
พยาบาลวิชาชีพ 7
ประกาศนียบัตรพยาบาลศาสตร์และผดุงครรภ์ชั้น 1

วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีศรีมหาสารคาม
พยาบาลป้องกันและควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาล










6 ความคิดเห็น:

  1. ไม่ระบุชื่อ15 มกราคม 2552 เวลา 20:39

    ขอทราบชื่อ เบอร์ e-mail และความเชี่ยวชาญพิเศษของบุคลากรแต่ละคน

    ตอบลบ
  2. ไม่ระบุชื่อ15 มกราคม 2552 เวลา 20:40

    เนื้อหาน่าสนใจ รูปสวยค่ะ

    ตอบลบ
  3. ไม่ระบุชื่อ19 มกราคม 2552 เวลา 18:31

    หมอบุญมี ซี 8 แล้ว

    ตอบลบ
  4. ไม่ระบุชื่อ25 กรกฎาคม 2552 เวลา 21:20

    มีระบบ IC วีธีจัดเก็บข้อมูล กรณีเริ่มจัดตั้งระบบ ICใน รพ.มัยคร๊า

    ตอบลบ
  5. ไม่ระบุชื่อ6 พฤษภาคม 2553 เวลา 22:01

    อยากทราบ การอบรมหรือศึกษาต่อด้านการควบคุมโรคติดเชื้อครับ ตอนนี้อยากเรียนต่อ เพราะทำงานที่สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่9 พิษณุโลกครับผม รับผิดชอบงานควบคุมวัณโรค เรื้อน กามโรคและเอดส์ครับ j.tpp@hotmail.com ขอบคูณล่วงหน้ามา ณ โอกาสนี้น่ะครับผม

    ตอบลบ
  6. ไม่ระบุชื่อ17 สิงหาคม 2553 เวลา 10:24

    อยากทราบแนวทางงาน IC ใน ER ค่ะ รบกวนขอข้อมูลได้ไหมค่ะ tk69@windowslive.com 081-779-0107

    ตอบลบ