วันอาทิตย์ที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2552

CAUTI Prevention

CAUTI Prevention
(การป้องกันการติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะจากการใส่และคาสายสวนปัสสาวะ)
NHS ได้เสนอแนวทางการป้องกัน CAUTI ไว้ 5 ประการ ได้แก่ การประเมินความจำเป็นที่จะต้องใส่สายสวนปัสสาวะ, การเลือกประเภทของสายสวนปัสสาวะ, การใส่สายสวนปัสสาวะ, การดูแลระหว่างคาสายสวนปัสสาวะ, การให้ความรู้แก่ผู้ป่วย ญาติ และเจ้าหน้าที่

1. การประเมินความจำเป็นที่จะต้องใส่สายสวนปัสสาวะ
ใส่คาสายสวนปัสสาวะต่อเมื่อจำเป็นเท่านั้นหลังจากที่พิจารณาทางเลือกอื่น ๆ (เช่น condom, intermittent catheterization) แล้ว, ประเมินความจำเป็นที่จะต้องใส่สายสวนปัสสาวะต่อไปเป็นระยะ ๆ และถอดสายสวนปัสสาวะออกเร็วที่สุด (ผู้ป่วยในหอผู้ป่วยหนักจะมีโอกาสใส่สายสวนโดยไม่จำเป็นมากกว่าในหอผู้ป่วยทั่วไป)

2. การเลือกประเภทของสายสวนปัสสาวะ
การเลือกประเภทของสายสวนปัสสาวะขึ้นกับการประเมินผู้ป่วยและระยะเวลาที่คาดว่าจะใส่สายสวน, เลือกใช้สายสวนปัสสาวะที่มีขนาดเล็กที่สุดที่จะให้ปัสสาวะไหลได้สะดวก

3. การใส่สายสวนปัสสาวะ
ผู้ใส่สายสวนปัสสาวะต้องได้รับการฝึกอบรมและมีทักษะเพียงพอ. ล้างมือให้สะอาดก่อนใส่สายสวน, ใช้ asepic technique ที่ถูกต้อง, ทำความสะอาด urethral meatus ด้วย sterile normal saline, ใช้สารหล่อลื่นที่เหมาะสมจากภาชนะที่ออกแบบสำหรับใช้ครั้งเดียว

4. การดูแลระหว่างคาสายสวนปัสสาวะ
- ต่อสายสวนปัสสาวะกับ sterile closed urinary drainage system, ตรึงสายสวนให้เหมาะสม
- รักษาระบบระบายปัสสาวะให้เป็นระบบปิด
- ล้างมือและใส่ถุงมือสะอาดก่อนที่จะสัมผัสสายสวนปัสสาวะ และล้างมือหลังจากถอดถุงมือ
- เก็บตัวอย่างปัสสาวะจากช่องที่ออกแบบไว้ (sampling port) โดยใช้ aseptic technique
- จัดวางตำแหน่งของถุงเก็บปัสสาวะให้ต่ำกว่าระดับกระเพาะปัสสาวะ โดยไม่สัมผัสกับพื้น
- ระบายปัสสาวะออกจากถุงเก็บปัสสาวะบ่อยพอที่จะให้ปัสสาวะไหลได้สะดวกและไม่ไหลย้อนกลับ โดยใช้ภาชนะสะอาดที่แยกเฉพาะสำหรับผู้ป่วยแต่ละรายและหลีกเลี่ยงอย่าให้ urinary drainage tap สัมผัสกับภาชนะที่ใช้รับปัสสาวะ
- ไม่เติม antiseptic หรือ antimicrobial solutions ในถุงเก็บปัสสาวะ
- ไม่เปลี่ยนสายสวนปัสสาวะโดยไม่จำเป็น หรือไม่เปลี่ยนเป็น routine
- ดูแล meatal hygiene ประจำวัน
- ไม่ควรทำ bladder irrigation
5. การให้ความรู้แก่ผู้ป่วย ญาติ และเจ้าหน้าที่ ฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ในการใส่สายสวนปัสสาวะและการดูแล, ให้ความรู้แก่ผู้ป่วยและญาติ

วันพุธที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2552

Standard Precautions


การป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ



เชื้อก่อโรคมีการแพร่กระจายเชื้อ ได้หลายทางคือ
1. การสัมผัส (Contact Transmission)
1.1 Direct Contact - การสัมผัสโดยตรง ระหว่างคนกับคน
1.2 Indirect Contact - การสัมผัสทางอ้อมโดยผ่านสิ่งแวดล้อมหรือเครื่องมือที่ไม่ปราศจากเชื้อ
1.3 Droplet Contact- การสัมผัสผ่านละอองเสมหะ ในระยะไม่เกิน 3 ฟุต เช่นคางทูม ไข้หวัดใหญ่ เป็นต้น



2. Common Vehicle transmission

- การแพร่กระจายที่เกิดจากการที่มีเชื้อโรคปนเปื้อนอยู่ในผลิตภัณฑ์เลือด อาหาร น้ำ ยา สารน้ำที่ให้แก่ ผู้ป่วย
- ทำให้เกิดการติดเชื้อในผู้ป่วยหลายราย เช่น การติดเชื้อ Salmonella จากอาหาร


3. Airborne transmission



-การแพร่กระจายโดยการสูดเอาเชื้อที่ลอยอยู่ในอากาศเข้าสู่ระบบทางเดินหายใจ
- ขนาดอนุภาคจะเล็กประมาณ 1-5 ไมครอน
- เชื้อจะลอยอยู่ในอากาศได้นาน เช่น TB และ อีสุกอีใส



4.Vectorborne transmission


- เป็นการแพร่กระจายเชื้อโดยแมลง หือสัตว์นำโรค คนได้รับเชื้อจากการถูกแมลงหรือสัตว์กัดและเชื้อที่มีอยู่ในตัวแมลงถ่ายทอดสู่คน เช่น การถูกยุงที่มีเชื้อเด็งกี่กัด แมลงวันเกาะขยะแล้วมาเกาะอาหาร



Standard Precautions


1. ใส่ถุงมือทุกครั้งที่คาดว่าจะมีการสัมผัสเลือด สารน้ำหรือสารคัดหลั่งของผู้ป่วย
2. ล้างมือทุกครั้งหลังสัมผัสเลือด สารน้ำหรือสารคัดหลั่งของผู้ป่วยและทุกครั้งหลังถอดถุงมือ
3. ใส่ผ้าปิดปาก-จมูกและแว่นป้องกันตาทุกครั้งที่คาดว่าจะมีการกระเด็นของเลือด สารน้ำหรือสารคัดหลั่งของผู้ป่วยถูกบริเวณใบหน้าและผ้ากันเปื้อน (ยาง, พลาสติก) หรือรองเท้าบู๊ทเพื่อป้องกันบริเวณลำตัว เท้า


Contact Precautions
(การติดเชื้อที่แพร่กระจายได้จากการสัมผัส)

1. แยกผู้ป่วยไว้ในห้องแยกและปิดประตูทุกครั้งหลังเข้าหรือออกจากห้องผู้ป่วย
2. สวมถุงมือทุกครั้งเมื่อสัมผัสผู้ป่สนทั้งบุคลากรและญาติ
3. ล้างมือแบบ hygienic handwashing หลังถอดถุงมือและก่อนออกจากห้องแยก






Droplet Precautions

(การติดเชื้อที่แพร่กระจายได้ทางละอองในอากาศ )

1. แยกผู้ป่วยไว้ในห้องแยกและปิดประตูทุกครั้งหลังเข้าหรือออกจากห้องผู้ป่วย

2. ผู้ที่จะเข้าไปในห้องผู้ป่วยหรือดูแลผู้ป่วยต้องใส่ ผ้าปิดปาก-จมูก ชนิด N95

3. สวมถุงมือชนิดใช้ครั้งเดียวทิ้ง ทุกครั้งที่สัมผัสผู้ป่วย
4. ล้างมือแบบ hygienic handwashing หลังถอดถุงมือและก่อนออกจากห้องแยก
5. ให้ผู้ป่วยใช้ผ้าหรือกระดาษปิดปาก-จมูกเวลาไอ จาม และใส่ผ้าปิดปาก-จมูก ชนิดธรรมดาตลอดเวลา ยกเว้นเวลารับประทานอาหารและแปรงฟัน
6. ถ้าต้องมีความจำเป็นในการเคลทื่อนย้ายผู้ป่วยออกนอก ห้องให้ผู้ป่วยใส่ผ้าปิดปาก-จมูกชนิด
ธรรมดา



Airborne Precautions
(การติดเชื้อที่แพร่กระจายทางอากาศ )

1. แยกผู้ป่วยไว้ในห้องแยกพิเศษ และปิดประตูทุกคครั้งหลังเข้าหรือออกจากห้องผู้ป่วย
2. ผู้ที่จะเข้าไปในห้องผู้ป่วยหรือดูแลผู้ป่วยต้องส่ผ้าปิดปาก-จมูก ชนิด N95
3. สวมถุงมือชนิดใช้ครั้งเดียวทิ้ง ทุกครั้งที่สัมผัสผู้ป่วย
4. ล้างมือแบบ hygienic handwashing หลังถอดถุงมือและก่อนออกจากห้องแยก
5. ให้ผู้ป่วยใช้ผ้าหรือกระดาษปิดปาก-จมูกเวลาไอ จาม และใส่ผ้าปิดปาก-จมูก ชนิดธรรมดาตลอดเวลา ยกเว้นเวลารับประทานอาหารและแปรงฟัน
6. ถ้าต้องมีความจำเป็นในการเคลทื่อนย้ายผู้ป่วยออกนอก ห้องให้ผู้ป่วยใส่ผ้าปิดปาก-จมูกชนิดธรรมดา





COP VAP

WHAPO to VAP Prevention

1. W: Wean
ถอดอุปกรณ์และเครื่องช่วยหายใจออกจากผู้ป่วยให้เร็วที่สุดตามข้อบ่งชี้ทางคลินิกและ weaning protocol ของโรงพยาบาล เนื่องจาก blofilm ระหว่างอุปกรณ์กับเยื่อบุจะเป็นแหล่งขยายตัวของเชื้อจุลชีพ

2. H: Hand hygiene
2.1 ล้างมือด้วยสบู่และน้ำหรือ alcohol-based handrubs (ถ้าไม่มีการปนเปื้อนที่เห็นชัด) ในกรณีต่อไปนี้
- ก่อนและหลังสัมผัสกับผู้ป่วยที่ใส่ท่อช่วยหายใจหรือเจาะคอ
- ก่อนและหลังสัมผัสกับอุปกรณ์เครื่องช่วยหายใจซึ่งกำลังใช้กับผู้ป่วย ไม่ว่าจะสวมถุงมือหรือไม่ก็ตาม
- หลังจากสัมผัสกับเยื่อบุ, สารคัดหลั่งจากทางเดินหายใจ, หรือวัตถุที่ปนเปื้อนสารคัดหลั่ง ไม่ว่าจะใส่ถุงมือหรือไม่ก็ตาม
2.2 เปลี่ยนถุงมือและล้างมือ ในกรณีต่อไปนี้
- ระหว่างการสัมผัสผู้ป่วยคนละราย
- หลังจากจับต้องสารคัดหลั่งหรือวัตถุที่ปนเปื้อนสารคัดหลั่งจากผู้ป่วยรายหนึ่ง และก่อนที่จะไปสัมผัสผู้ป่วยรายอื่น วัตถุ หรือสิ่งแวดล้อม
- ระหว่างการสัมผัสกับตำแหน่งของร่างกายที่ปนเปื้อน และทางเดินหายใจหรืออุปกรณ์ช่วยหายใจในผู้ป่วยรายเดียวกัน




3. A: Aspiration Precautions
3.1 ป้องกันการสำลักเนื่องจากการใส่ท่อช่วยหายใจ
ก. ใช้ noninvasive positive-pressure ventilation ผ่าน face mask เพื่อลดความจำเป็นและระยะเวลาในการใส่ท่อช่วยหายใจในผู้ป่วยบางกลุ่ม (เช่น ผู้ป่วยที่มี hypercapneic respiratory failure เนื่องจาก acute exacerbation of COPD or cardiogenic pulmonary edema) และใช้เป็นส่วนหนึ่งของ weaning process
ข. หลีกเลี่ยงการใส่ท่อช่วยหายใจซ้ำ
ค. ก่อนที่จะปล่อยลมจาก cuff หรือถอดท่อช่วยหายใจให้ดูดเสมหะบริเวณเหรือ cuff ออกให้หมด
ง. ระบาย circuit condensale ก่อนจัดท่าผู้ป่วย
3.2 ป้องกันการสำลักเนื่องจากการให้อาหารทางสายยาง
ก. ในผู้ป่วยที่ใส่เครื่องช่วยหายใจและไม่มีข้อห้ามทางการแพทย์ ให้ยกหัวเตียงผู้ป่วยสูงทำมุม 30-45 องศา
ข. ตรวจสอบตำแหน่งของสายยางให้อาหารและวัด gastric residual volumes ก่อนให้ tube feeding ถอดสายยางให้อาหารออกให้เร็วที่สุด


4. P: Prevent Contamination
ก. ทำความสะอาดเครื่องมืออย่างทั่วถึง ก่อนที่จะนำเครื่องมือไปทำให้ปราศจากเชื้อหรือทำลายเชื้อ (พิจารณาใช้ enzymatic cleaner สำหรับเครื่องมือที่มี lumen หรือผิวไม่ราบเรียบ)
ข. ถ้าเป็นไปได้ใช้การนึ่งฆ่าเชื้อด้วยไอน้ำกับเครื่องมือหรืออุปกรณ์ที่สัมผัสกับเยื่อบุของผู้ป่วย กรณีที่เครื่องมือและอุปกรณ์นั้นไวต่อความร้อนหรือความชื้น ให้ใช้ low-temperature sterillzation methods และ rinse ด้วย sterile water
ค. เปลี่ยน ventilator circults ต่อเมื่อเห็นความสกปรกที่ชัดเจน (โดยทั่วไปไม่ควรเปลี่ยนบ่อยกว่าทุก 48 ชั่วโมง) และควรเทหยดน้ำในท่อทิ้งบ่อย ๆ ให้เป็น routine
ง. การ suction ให้ทำเท่าที่จำเป็น ใช้วิธีปฏิบัติเพื่อป้องกันการปนเปื้อนที่เหมาะสมและเป็นไปในทิศทางเดียวกันทั้งโรงพยาบาล, แยกอุปกรณ์ที่ใช้ดูดเสมหะและน้ำลายในช่องปากกับที่ใช้ดูดใน endotrachial tube ออกจากกัน, ใช้ saline ต่อเมื่อเสมหะเหนียวข้น
** ยังไม่มีข้อสรุปชัดเจนในเรื่องการเลือกใช้ multiuse closed-system suction catheter หรือ single-use open-system suction catheter, การใช้ sterile หรือ clean gloves


5. Oral Care
ลด colonization dental plaque โดยการแปรงฟันวันละ 2 ครั้ง,ดูแลความชุ่มชื้นของเยื่อบุโดยใช้ moisturizer ทุก 2-4 ชั่วโมง

แนะนำงาน IC

ประวัติความเป็นมา
โรงพยาบาลสกลนคร ได้จัดให้มีงานป้องกันและควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาล ในปี พ.ศ.2536 โดยหัวหน้าพยาบาล นางสมหมาย เริงสำราญ กำหนดให้มี ICN 1 คน รับผิดชอบงานและส่งไปศึกษาต่อด้านการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาล ปริญญาโทคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และจัดให้มีตัวแทนแต่ละหอผู้ป่วยเป็นคณะกรรมการเฝ้าระวังการติดเชื้อในโรงพยาบาล (ICWN)



ปัจจุบันโรงพยาบาลสกลนครจัดให้มีคณะกรรมการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาล โดยโครงสร้างการบริหารการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาล ประกอบด้วยสหสาขาวิชาชีพ ครอบคลุมทั้งสายการรักษาพยาบาล และสายบริหาร
ICN มีทั้งหมด 4 คน จบพยาบาลศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลด้านการควบคุมการติดเชื้อคณะพยาบาลศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 2 คนและจบการพยาบาลเฉพาะทางสาขาการควบคุมโรคติดเชื้อและการพยาบาลผู้ป่วยโรคติดเชื้อ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 1 คน และมอบหมาย ICN (พยาบาลวิชาชีพ) ดูแลและควบคุมกำกับงานจ่ายกลาง 1 คน



ปรัชญา
เราเชื่อว่าการทำงานเป็นทีมและมุ่งมั่นพัฒนางานป้องกันและควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาลสกลนครอย่างต่อเนื่องโดยเน้นความปลอดภัยของผู้ใช้บริการ และการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในเครือข่ายระบบบริการสาธารณสุข


วิสัยทัศน์
งานป้องกันและควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาลสกลนครโรงพยาบาลสกลนคร จะเป็นผู้นำด้านการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาลและ เป็นเลิศในเขต 11




พันธกิจ
1. กำหนดนโยบาย แผนงาน มาตรการ ระเบียบปฏิบัติวิธีการที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาล
2. เฝ้าระวัง และสอบสวนการระบาดของการติดเชื้อในโรงพยาบาล
3. รวบรวม และวิเคราะห์ข้อมูลการเฝ้าระวังการติดเชื้อใน โรงพยาบาล พร้อมทั้งรายงานผลต่อหน่วยงานเกี่ยวข้อง
4. สอบสวนหาสาเหตุของการระบาด ควบคุมการระบาดในโรงพยาบาลอย่างทันท่วงที
5. เฝ้าระวัง และให้การดูแล บุคลากรที่สัมผัสเลือด สารคัดหลั่งในโรงพยาบาล บุคลากรที่เจ็บป่วยด้วยโรคติดเชื้อ เช่น วัณโรค
6. ประสานงานทีมดูแลผู้ป่วย และทีมประสานบริการ ทีมสนับสนุนบริการ ในเรื่องต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับ
พยาบาล
7. พัฒนางานป้องกันและควบคุมการติดเชื้ออย่างต่อเนื่องทั้งในและนอกโรงพยาบาล
8. ให้คำปรึกษา คำแนะนำ และความรู้ในด้านการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาลแก่บุคลากรทั้งในและนอกโรงพยาบาล
9. ดำเนินการวิจัยเพื่อนำผลงานวิจัยมาพัฒนางานด้านการ ป้องกันและควบคุมการติดเชื้อในโรงพยา

เป้าหมาย
· อัตราการติดเชื้อในผู้ป่วยน้อยกว่าร้อยละ 5 ต่อ 1000 วัน
· ประสิทธิภาพของการเฝ้าระวังมากกว่า 80 %
· อัตราการเกิดอุบัติเหตุ และสัมผัสเลือดและสารคัดหลั่งลดลง
· การเจ็บป่วยจากการปฏิบัติงานน้อยกว่า 1
· บุคลากรมีการทำความสะอาดมือถูกต้อง มากกว่า 80%


วัตถุประสงค์ที่ต้องการบรรลุในหนึ่งปีข้างหน้า
1. ระบบการเฝ้าระวังการติดเชื้อในผู้ป่วย Target surveillance ที่มีประสิทธิภาพ
1.1 การลดอัตราการติดเชื้อในหอผู้ป่วยที่มีเสี่ยงสูง ได้แก่หอผู้ป่วยหนักศัลยกรรม หอผู้ป่วยหนัก อายุรกรรม หอผู้ป่วยหนักเด็ก หอผู้ป่วยกึ่งวิกฤตศัลยกรรมระบบประสาท หอผู้ป่วยทารกแรกเกิด
1.2 การลดอัตราการติดเชื้อที่เป็นปัญหาสำคัญ ได้แก่
- การติดเชื้อปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจ
- การติดตามผู้ป่วยหลังผ่าตัด (Post discharge surveillance)
- การติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะ
- การติดเชื้อที่หลอดเลือดดำส่วนปลาย
2. ส่งเสริมให้บุคลากรของโรงพยาบาล มีการล้างมือ และการทำความสะอาดมือ มากกว่า ร้อยละ 80
3. ส่งเสริมสุขภาพบุคลากรให้มีการดูแลสุขภาพ มีการตรวจสุขภาพ มากกว่าร้อยละ 80
4. การจัดระบบขยะ และบำบัดน้ำเสีย มีประสิทธิภาพ มากกว่าร้อยละ 80
5. ส่งเสริมให้ทุกหน่วยงาน ค้นหาปัญหา และหาแนวทางแก้ปัญหา โดยใช้รูปแบบการวิจัยและการสร้างเครือข่าย แลกเปลี่ยนเรียนรู้(COP. VAP)
6. โรคติดเชื้อรุนแรง ได้แก่ MDR และ MRSA ไม่มีการติดเชื้อเพิ่มขึ้น (ระบาด) ได้รับการป้องกันและควบคุมอย่างมีประสิทธิภาพ
7. พัฒนาแนวทางการดูแลผู้ป่วย sepsis

บุคลากร

นายแพทย์บุญมี มีประเสริฐ

นายแพทย์ 7 (ด้านเวชกรรมสาขาอายุรกรรม)

แพทย์ศาสตร์บัณฑิต-ปริญญา คณะแพทย์ศาสตร์

ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล

ประธานคณะกรรมการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อ
ในโรงพยาบาล



นางสาวพงศ์ลดา รักษาขันธ์พยาบาลวิชาชีพ 7
พยาบาลศาสตร์มหาบัณฑิต

สาขาวิชาการพยาบาลด้านการควบคุมการติดเชื้อ

หัวหน้างานป้องกันและควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาล


นางณัฐวิภา บุญเกิดรัมย์

พยาบาลวิชาชีพ 7

ประกาศนียบัตรพยาบาลศาสตร์และผดุงครรภ์ชั้น 1
วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีสระบุรี
ประกาศนียบัตรการพยาบาลเฉพาะทางสาขาการควบคุมโรคติดเชื้อและการพยาบาลผู้ป่วยโรคติดเชื้อ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

พยาบาลป้องกันและควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาล



นางสาวกมงวัลย์ ใครบุตร
พยาบาลวิชาชีพ 7
พยาบาลศาสตร์มหาบัณฑิต
สาขาวิชาการพยาบาลด้านการควบคุมการติดเชื้อ
พยาบาลป้องกันและควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาล




นางพิศมัย กองทรัพย์
พยาบาลวิชาชีพ 7
ประกาศนียบัตรพยาบาลศาสตร์และผดุงครรภ์ชั้น 1

วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีศรีมหาสารคาม
พยาบาลป้องกันและควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาล










วันอังคารที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2552

Hand Hygiene

การทำความสะอาดมือ

(Hand Hygiene)

เชื้อโรคบนมือ



1. เชื้อโรคที่อยู่ชั่วคราว (Transient Flora) เช่น Staphylococcus aureus, Pseudomonas aeruginosa
1.1 อาศัยอยู่ในผิวหนังชั้นบน
1.2 ไม่ติดแน่น
1.3 มักไม่เจริญแบ่งตัวบนผิวหนัง
1.4 เป็นสาเหตุของ การติดเชื้อในโรงพยาบาล
1.5 กำจัดออกได้ง่ายโดยการล้างทำความสะอาดมือ

2. เชื้อโรคที่อยู่ประจำ (Resident Flora) เช่น Staphylococcus . epidermidis, Coagulase-negative staphylococci
2.1 อาศัยอยู่ในผิวหนังชั้นลึก
2.2 ก่อให้เกิดโรคน้อย เข้าร่างกายผ่านอุปกรณ์ที่สอดใส่เข้าไป และเมื่อภูมิคุ้มกันลดลง
2.3 ลดจำนวนลงได้จากการล้างมือ แต่ไม่สามารถกำจัดออกได้หมด




ข้อบ่งชี้ในการทำความสะอาดมือ
1. ก่อนและหลังการสัมผัสตัวผู้ป่วย
2. หลังถอดถุงมือ
3. ก่อนสัมผัสกับอุปกรณ์ที่จะสอดใส่เข้าร่างกายผู้ป่วย ไม่ว่าจะใส่ถุงมือหรือไม่
4. หลังสัมผัสกับ Body fluids or excretion , mucous membranes, nonintact skin หรือ wound dressings
5. เมื่อเปลี่ยนการทำกิจกรรมกับส่วนที่สกปรกไปส่วนที่สะอาดในระหว่างการดูแลผู้ป่วย
6. หลังสัมผัสสิ่งของหรืออุปกรณ์ที่ใช้กับผู้ป่วยแล้ว
7. หลังสัมผัสสิ่งของที่ปนเปื้อนเชื้อโรค


การทำความสะอาดมือ
1. การล้างด้วยน้ำกับสบู่ธรรมดา (Normal Handwashing)
ข้อบ่งชี้

1.1 หลังถอดถุงมือ
1.2 ก่อนและหลังสัมผัสผิวหนังผู้ป่วยปกติ ที่ไม่มีการปนเปื้อน infectious material ที่มองเห็นได้ เช่น เลือด หนอง ฯลฯ
1.3 ก่อนปฏิบัติกิจกรรมพยาบาลทั่วไปที่ไม่ต้องใช้เทคนิคปราศจากเชื้อ
1.4 หลังสัมผัส non-infectious material เช่น น้ำดื่ม อาหารสะอาด ฯลฯ

2.การล้างมือด้วยสบู่น้ำยาฆ่าเชื้อ (Hygienic Handwashing )
ข้อบ่งชี้

2.1 ก่อนการสอดใส่อุปกรณ์
2.2 ก่อนการสัมผัสหรือทำกิจกรรมกับ
- ผู้ป่วยที่มีภูมิคุ้มโรคต่ำ
- ผิวหนังที่มีแผล
2.3 หลังสัมผัสสิ่งสกปรก / เชื้อโรค (Infectious material )


3.การล้างมือก่อนการผ่าตัด (Surgical Handwashing)
ข้อบ่งชี้


3.1ตัดเล็บให้สั้นและแคะขี้เล็บออก
3.2 ไม่ใส่เล็บปลอมหรือต่อเล็บ และไม่ทาสีเล็บ
3.3 ใช้สบู่ antiseptic ปริมาณเพียงพอฟอกมือจนถึงข้อศอกทั้งสองข้างจนทั่วถึงนานไม่ต่ำกว่า 2-5 นาที
3.4. เช็ดมือให้แห้งด้วยผ้าหรือกระดาษเช็ดมือปราศจากเชื้อชนิดใช้ครั้งเดียว
3.5 ปิดก๊อกด้วยเท้าหรือขาแทนมือ


การล้างมือเพื่อการผ่าตัดด้วย Alcohol-based handrubs
1. ครั้งแรกของวันให้ล้างมือด้วยน้ำและสบู่ผสมยาฆ่าเชื้อเพื่อชะล้างสิ่งสกปรกออกจากมือก่อน
2. เช็ดมือให้แห้งด้วยผ้าสะอาด
3. ปิดก๊อกด้วยเท้าหรือขาแทนมือ
4. ใช้ Alcohol-based handrubs > 6 mLถูมือและแขนทั้งสองข้างจนทั่ว
รอจนแอลกอฮอล์ระเหยแห้ง ไม่ต้องใช้ผ้าเช็ดมือ



การใช้แอลกอฮอล์ทำความสะอาดมือ
1.ลูบให้ทั่วมือและนิ้ว จนกระทั่งระเหย แห้ง ประมาณ 20-30 วินาที
2.ปริมาณการใช้ขึ้นกับข้อแนะนำของผู้ผลิต ประมาณ 3.0 - 5.0 ซีซี
3.หลังถูมือด้วยแอลกอฮอล์ 5-10 ครั้งแล้วรู้สึกเหนียวมือให้ล้างออกด้วยน้ำกับสบู่


ข้อปฏิบัติอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับการทำความสะอาดมือ
การใส่ถุงมือ
1. ลดการปนเปื้อนเชื้อโรคจากผู้ป่วย
2. ป้องกันการแพร่เชื้อประจำถิ่นจากบุคลากรไปยังผู้ป่วย
3. ลดการปนเปื้อนเชื้อประจำถิ่นจากผู้ป่วยแล้วนำไปแพร่สู่ผู้ป่วยรายอื่น
4. ถุงมือไม่สามารถป้องกันมือจากการปนเปื้อนเชื้อได้ทั้งหมด เนื่องจากถุงมืออาจรั่ว หรือเกิดการปนเปื้อนขณะถอดถุงมือ

การใส่แหวน
1.ทำให้เกิดการปนเปื้อนเชื้อโรคบนมือมากขึ้นและอาจล้างออกไม่หมด





สรุป
1.มือของบุคลากรในโรงพยาบาลอาจมีการปนเปื้อนเชื้อโรคขณะปฏิบัติงานและเป็นเหตุให้เกิดการติดเชื้อและแพร่กระจายเชื้อได้
2.บุคลากรในโรงพยาบาลควร ทำความสะอาดมืออย่างถูกต้องตามข้อบ่งชี้ โดยการล้างด้วยน้ำกับสบู่หรือ น้ำยาฆ่าเชื้อ หรือ การลูบมือด้วยแอลกอฮอล์
3. การกระตุ้นและส่งเสริมให้บุคลากรทำความสะอาดมือต้องใช้ หลายวิธีประกอบกันจึงจะมีประสิทธิ
ภาพ